City Information

Table of Contents

ข้อมูลประเทศสิงคโปร์ (SINGAPORE)

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และเป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะโฮร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน

ภูมิศาสตร์

สิงคโปร์เป็นนครรัฐที่มีขนาดเล็กมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ที่ปลายคาบสมุทรมาลายูระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย สิงคโปร์มีพื้นที่ทั้งหมด 724.2 ตร.กม. (279.6 ตร. ไมล์) และพื้นที่สิงคโปร์ประกอบด้วยแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะอื่น ๆ แผ่นดินใหญ่ของสิงคโปร์มีระยะทาง 50 กิโลเมตร (31 ไมล์) จากตะวันออกไปตะวันตกและ 27 กิโลเมตร (17 ไมล์) จากเหนือจรดใต้โดยมีชายฝั่ง 193 กิโลเมตร (120 ไมล์) ตัวเลขเหล่านี้อ้างอิงจากขอบเขตการสำรวจที่ดิน High Water Mark ขนาด 2.515 เมตร (8 ฟุต 3.0 นิ้ว) มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ 1,067 ตร.กม. (412 ตารางไมล์) สิงคโปร์ถูกแยกออกจากอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์และจากมาเลเซียโดยช่องแคบยะโฮร์

สภาพภูมิอากาศ

ประเทศสิงคโปร์มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นเส้นศูนย์สูตร ซึ่งสภาพอากาศของประเทศสิงคโปร์ก็จะคล้ายคลึงกับสภาพอากาศทางภาคใต้ของประเทศไทย กล่าวคือ อากาศจะร้อนและเปียกชื้นทั้งปีและจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นระหว่างอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31 องศาเซลเซียสและต่ำสุด 23 องศาเซลเซียส
ประเทศสิงค์โปรมี 2 ฤดู ได้แก่

  • ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนตุลาคม
  • ฤดูฝน   จะอยู่ในช่วง เดือนพฤศจิกายน- เดือนมกราคม
โซนเวลา

เวลามาตรฐานสิงคโปร์ (SST) หรือที่เรียกว่าเวลาสิงคโปร์ (SGT) ใช้ในสิงคโปร์และเร็วกว่า GMT 8 ชั่วโมง (GMT + 08: 00) ปัจจุบันสิงคโปร์ไม่ปฏิบัติตามเวลาออมแสง ประเทศสิงคโปร์จะมีเวลาที่เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง

การเมืองการปกครอง

ในฐานะที่เป็นอาณานิคมแบบเอกเทศนั้น สิงคโปร์มีอำนาจปกครองกิจการภายในของตนเองแต่ไม่มีอำนาจดูแลกิจการทหารและการต่างประเทศ และยังมีผู้ว่าราชการจากส่วนกลางมาปกครองอยู่ ในสภานิติบัญญัติ (Legislative Council) นั้น และระบอบการปกครองของสิงคโปร์ คือ ระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

การแบ่งเขตการปกครอง

รูปแบบการปกครองของสิงคโปร์มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งมีการปกครองแบบประชาธิปไตย แบบรัฐสภาโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของรัฐบาล และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งแบ่งเขตการปกครองในส่วนท้องถิ่นเป็น 5 ภูมิภาค

ภาคกลาง

ภาคกลางถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงินของสิงคโปร์ ภายในยังแบ่งออกเป็น 11 เขตย่อย ซึ่งเขตที่สำคัญคือ ดาวทาวน์ คอร์ เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจที่สำคัญของสิงคโปร์ และเป็นที่ตั้งสำนักงานห้างร้านขนาดใหญ่ ซึ่ง Orchard ถือเป็นแหล่งการค้าและศูนย์กลางของธุรกิจโรงแรม

ภาคตะวันตก

มีพื้นที่ 201 ตารางกิโลเมตร ถือว่าใหญ่ที่สุดใน 5 ภาคโดยแบ่งเป็น 12 เขต และเขตสำคัญ ได้แก่ Western Water Catchment ซึ่งเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำขนาดใหญ่และครอบคลุมพื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของภาค

ภาคเหนือ

มีประชากรกว่า 4 แสนคน แบ่งเป็น 8 เขต มี Central Water Catchment ซึ่งเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคในตอนกลางของเกาะสิงคโปร์

ภาคตะวันออก

เขต Changi เป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติแห่งสิงคโปร์ โดยแบ่งเป็น 6 เขต

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หมู่เกาะในเขตตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นเกาะสำคัญ ได้แก่ Pulau-tekong เป็นที่ตั้งทางทหารของสิงคโปร์ และ Pulau-ubin ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติโดยแบ่งเป็น 7 เขต

การใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตสำหรับนักท่องเที่ยว

หากโทรศัพท์จากไทยไปสิงคโปร์ ต้องกดรหัสผู้ให้บริการคือ 001 หรือ 008 และ009 ตามด้วยรหัสประเทศ 65 แล้วจึงตามด้วยหมายเลขที่ต้องการโทร 8 หลัก หากต้องการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจากโทรศัพท์หรือแท็บ และไม่ต้องการเสียค่าบริการโรมมิ่งแพงๆ มาจากเมืองไทย สามารถหาซื้อซิมการ์ดของผู้ให้บริการที่ประเทศสิงคโปร์ได้ง่าย หากใครใช้โทรศัพท์ที่รองรับ 4G LTE ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากโทรศัพท์ได้สะดวกและรวดเร็วมาก
นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อซิมการ์ดแบบ Prepaid เพื่อใช้โทรศัพท์หรือเล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ของสิงคโปร์มีอยู่ 3 ราย คือ Starhub ,SingTel และ M1 รวมถึงบัตรเติมเงินที่หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ หรือร้านขายโทรศัพท์มือถือ และควรหลีกเลี่ยงการซื้อซิมการ์ดตามร้านขายโทรศัพท์ใน Lucky Plaza และ Funan ซึ่งนักท่องเที่ยวควรจะศึกษาราคาซิมการ์ดแบบต่างๆ ให้ดีก่อนเดินทาง

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

สิงคโปร์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติมากเหมือนประเทศอื่น แต่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีเพราะสิงคโปร์พัฒนาเศรษฐกิจด้านการค้า โดยเป็นประเทศพ่อค้าคนกลางในการขายสินค้าเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าปลอดภาษีทำให้สินค้าที่ผ่านทางสิงคโปร์มีราคาถูก ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่และทันสมัยที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และยังได้เข้าไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชาและพม่า สิงคโปร์มีประชากรน้อยจึงต้องพึ่งพาแรงงานจากต่างชาติในทุกระดับ สิงค์โปร์เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีฐานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

ศาสนา

ศาสนาพุทธ ร้อยละ 33%
ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 3%
ไม่มีศาสนา ร้อยละ 17%
ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 7%
ศาสนาเต๋า ร้อยละ 9%
ศาสนาฮินดู ร้อยละ 1%
อื่นๆ ร้อยละ 7%

สกุลเงิน

ดอลลาร์สิงคโปร์ (Singapore Dollar : SGD) เป็นสกุลเงินของประเทศสิงคโปร์ รหัสสากล ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า SGD และใช้สัญลักษณ์ $ , S$  เริ่มใช้เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ในปี ค.ศ. 1999

เชื้อชาติ

สิงค์โปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาคและเป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาค สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนประชากรประมาณ 5,543,494 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2013) ประกอบด้วยชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน-ดัตซ์-อังกฤษ-โปรตุเกส-ญี่ปุ่น หรือชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน-อังกฤษ-ดัตซ์-โปรตุเกส (76.5%) ชาวมลายู (13.8%) ชาวอินเดีย (8.1%) และอื่น ๆ (1.6%)

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของสิงคโปร์หรือวัฒนธรรมสิงคโปร์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงหลายปี วัฒนธรรมร่วมสมัยร่วมสมัยประกอบด้วยการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมเอเชียและยุโรปโดยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากมาเลย์เอเชียใต้เอเชียตะวันออกและยูเรเชีย สิงคโปร์ได้รับการขนานนามว่าเป็นประเทศที่ “ตะวันออกพบตะวันตก” “ประตูสู่เอเชีย” และ “เมืองแห่งสวน” และที่สำคัญวัฒนธรรมพื้นเมืองของสิงคโปร์มีต้นกำเนิดมาจากชาวออสโตรนีเซียนที่เดินทางมาจากเกาะไต้หวันโดยตั้งถิ่นฐานระหว่าง 1,500 ถึง 1,000 ก่อนคริสตศักราช จากนั้นได้รับอิทธิพลในช่วงยุคกลางโดยส่วนใหญ่มาจากราชวงศ์ของจีนหลายราชวงศ์เช่นราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงรวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียเช่นอาณาจักรมาจาปาหิตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์โทคุงาวะและอาณาจักรริวกิว ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยอันใกล้หลังจากที่อังกฤษเข้ามาสิงคโปร์ก็ได้รับอิทธิพลจากประเทศตะวันตกเช่นกัน อิทธิพลซ้ำๆ การดูดซึมและการเลือกในรูปแบบต่าง ๆ ได้เพิ่มการพัฒนาวัฒนธรรมที่แตกต่างและเป็นเอกลักษณ์

ภาษา

ชาวสิงคโปร์จำนวนมากสามารถสื่อสารได้สองภาษา ส่วนใหญ่พูดภาษาอังกฤษแบบสิงคโปร์และภาษาอื่นซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นภาษาจีนกลาง มาเลย์ ทมิฬหรือภาษาสิงคโปร์ Colloquial English (Singlish) ภาษาอังกฤษมาตรฐานสิงคโปร์แทบจะเหมือนกับภาษาอังกฤษแบบอังกฤษในแง่มุมต่างๆ ของไวยากรณ์และการสะกดคำแม้ว่าจะมีความแตกต่างกันบ้างในคำศัพท์และการสะกดคำเล็กน้อยเนื่องจากการทำให้เป็นอเมริกัน ตัวอย่าง เช่น คำว่า ‘swap’ มักสะกดว่า ‘swop’ ตามมาตรฐานใน The Straits Times
ชาวสิงคโปร์ทุกคนเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรกในโรงเรียนภายใต้ระบบการศึกษาภาคบังคับในท้องถิ่นและภาษาแม่เป็นภาษาที่สอง ดังนั้นคนสิงคโปร์ส่วนใหญ่จึงใช้สองภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะเยาวชนในสังคมปัจจุบัน การใช้งานในสิงคโปร์มีสี่ภาษาหลัก ภาษา “ประจำชาติ” ของสิงคโปร์คือภาษามาเลย์ นี่เป็นการยอมรับว่าชาวมาเลย์เป็นชุมชนพื้นเมืองในสิงคโปร์แม้ว่าปัจจุบันชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่จะไม่พูดภาษามลายูก็ตาม ภาษามลายูใช้ในเพลงชาติคำขวัญประจำชาติและคำสั่งในการซ้อมสวนสนาม ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการเนื่องจากชาวเอเชียใต้ส่วนใหญ่ในสิงคโปร์เป็นชาวทมิฬจากอินเดียใต้และศรีลังกา ในขณะที่ชาวจีนสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของผู้อพยพชาวจีนทางตอนใต้ที่พูดภาษาในภูมิภาคต่างๆ ได้หลากหลาย แต่ภาษาจีนตอนเหนือของภาษาจีนกลางเป็นภาษาทางการในสิงคโปร์แม้ว่าภาษาถิ่นเช่นฮกเกี้ยนและกวางตุ้งยังคงแพร่หลายในคนจีนรุ่นเก่า
สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา คือ อังกฤษ จีนกลาง มลายู และทมิฬ ศิลปวัฒนธรรมก็เป็นลักษณะผสมระหว่างจีน มาเลเซีย และอินเดีย ภาษาประจำชาติ คือ ภาษามลายู

การคมนาคม

การขนส่งทางบก สิงคโปร์มีพื้นที่ไม่มาก ประมาณ 900 ตารางกิโลเมตร แต่ถนนที่จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ประมาณ 1,300 กิโลเมตร นอกจากถนนแล้ว ยังมีทางรถไฟอยู่สองสาย มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร ได้มีการสร้างทางรถไฟสายสิงคโปร์ – กรันจิ เมื่อปี ค.ศ. 1903 สมัยรัฐบาลสเตรตส์เซตเทิลเมนต์โดยมีการเดินรถจากสถานีแทงค์โรค ไปยังวู๊ดแลนด์ และมีบริการแพขนานยนต์ ข้ามฟากไปเชื่อมต่อกับทางรถไฟจากแผ่นดินใหญ่ด้วย ต่อมาในปี ค.ศ. 1913 การรถไฟแห่งสหพันธ์มลายูได้รับซื้อกิจการนี้แล้วปรับปรุง ให้เริ่มจากสถานีบูกิตบันยัง ถึงสถานีตันหยงปาการ์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1919 ได้มีการเริ่มสร้างถนนข้ามช่องยะโฮร์ เพื่อให้ทางรถไฟติดต่อถึงกัน ทางรถไฟสายหลัก ข้ามถนนข้ามช่องยะโฮร์มาเลเซีย ตัดกลางประเทศ ลงสู่ใต้ถึงสถานีปลายทาง ที่ใกล้ท่าเรือเคปเปล โดยมีทางแยกเลยเข้าไปในท่าเรือเคปเปลด้วย ทางรถไฟอีกสายหนึ่ง แยกจากสายแรกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ รถไฟสายนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลมาเลเซีย การเดินทางไปในสถานีรถไฟ เพื่อโดยสารถือว่าเป็นการเดินทางผ่านประเทศ ต้องมีการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง หรือเอกสารอย่างอื่นทำนองเดียวกัน

การขนส่งทางน้ำ มีการขนส่งทางน้ำภายในประเทศ ทางน้ำชายฝั่งและทางน้ำระหว่างประเทศ ทางน้ำภายในประเทศ มีใช้อยู่ในวงจำกัด และไม่ค่อยสะดวก เพราะสิงคโปร์เป็นเกาะเล็ก ๆ และมีแนวชายฝั่งสั้น ภายในเกาะเองก็มีแม่น้ำสายสั้น ๆ และไม่ติดต่อถึงกัน รวมทั้งยังตื้นเขินมาก จึงต้องจำกัดเวลา ในการใช้คือ ในช่วงเวลาน้ำขึ้นเท่านั้น ทางน้ำชายฝั่ง เป็นส่วนหนึ่งของระบบขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ แต่มีลักษณะเฉพาะของตนเองคือ ใช้เรือเล็ก ท่าเรือเล็ก ๆ ที่มีจำนวนมากมาย เส้นทางเดินเรือสั้น การให้บริการไม่เป็นประจำ เรือที่เดินตามบริเวณชายฝั่ง มีหลายบริษัท และมีบริษัทที่ให้บริการเป็นประจำไปยังท่าเรืออินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออก และตะวันตก และไทย ทางน้ำระหว่างประเทศ รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานจดทะเบียนเรือของสิงคโปร์ขึ้น เมื่อปี ค.ศ. 1966 และได้มีการตราพระราชบัญญัติอนุญาตให้มีการจดทะเบียนเรือ ซึ่งเจ้าของอยู่ในต่างประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 1968 โดยมีความมุ่งหมายจะชักจูงเรือสินค้าต่างชาติ ที่ไปจดทะเบียนเป็นเรือสัญชาติไซบีเรีย และปานามา ให้สนใจโอนสัญชาติเป็นเรือสิงคโปร์ได้ ท่าเรือแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1964 ได้มีการปรัปปรุงท่าเรือสิงคโปร์ ให้สามารถรับเรือคอนเทนเนอร์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ และสามารถอำนวยความสะดวก ให้กับเรือบรรทุกน้ำมันขนาดสองแสนตัน หรือมากกว่า ท่าเรือ แต่เดิมใช้ท่าเรือเคปเปล ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของสิงคโปร์ และมีเกาะเซนโตซา กับเกาะบรานี เป็นที่กำบังลม ต่อมาบริเวณของการท่าเรือ ได้ขยายออกไปจนเกินอาณาบริเวณ ทั้งพื้นที่บนฝั่ง และในทะเลรวม 538 ตารางกิโลเมตร ท่าเรือสิงคโปร์ มีทั้งท่าเรือน้ำลึกตรงที่ท่าเรือเคปเปล มาจนถึงตันจงปาการ์ ท่าเรือสิงคโปร์เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันตกของเกาะ เลียมริมฝั่งตะวันตก เรื่อยไปจนถึงฝั่งตะวันออกของเกาะทีซันไจ มาตา อิกาน บีคอน เขตการค้าเสรี ทางการสิงคโปร์ ได้ประกาศเขตการค้าเสรี เมื่อปี ค.ศ. 1969 ตามบริเวณท่าเรือ ตั้งแต่เตล๊อก อาเยอร์เบซิน จนถึงจาร์ดินสเตปส์ กับจูร่ง ในบริเวณนี้ทางการได้จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ สายการเดินเรือแห่งชาติ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1968 บริษัทนี้เป็นสมาชิกของชมรมเดินเรือแห่งตะวันออกไกล เมื่อปี ค.ศ. 1969

การขนส่งทางอากาศ การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ เริ่มมีสายการบินทำการค้าสายแรก เมื่อปี ค.ศ. 1930 เป็นของบริษัทดัทช์อิสท์อินเดีย และในปี ค.ศ. 1935 สายการบินแควนตัส ได้เปิดการบินระหว่างสิงคโปร์กับออสเตรเลียต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ท่าอากาศยานสากลเดิมอยู่ที่ปายาเลบาร์อยู่ห่างจากตัวเมืองไปประมาณ 12 กิโลเมตร มีทางวิ่งยาวประมาณ 4,000 เมตร สามารถรับเครื่องบินพาณิชย์ได้ทุกขนาดและทุกแบบ ปัจจุบันสิงคโปร์มีท่าอากาศยานนานานชาติ ที่จัดส่งทันสมัยมากคือ ท่าอากาศยานนานาชาติจางี มีขีดความสามารถในการรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ และการให้บริการพร้อมๆ กันถึง 45 เครื่อง มีการสร้างทางวิ่งที่สองบนพื้นที่ ที่ได้จากการถมทะเล สายการบินแห่งชาติเดิมสิงคโปร์ มีสายการบินร่วมกับมาเลเซียใช้ชื่อว่า มาเลเซีย – สิงคโปร์ แอร์ไลนส์ (Malasia – Singapore Airlines) ต่อมาเมื่อได้แยกประเทศกันแล้ว ก็ได้แยกสายการบินออกจากกันด้วย เมื่อปี ค.ศ. 1972 สายการบินของสิงคโปร์ใช้ชื่อว่า สิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines SIA)

ระบบน้ำประปา

น้ำประปาในสิงคโปร์ปลอดภัยต่อการดื่มสำหรับผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือน อาจมีบางกรณีของน้ำที่เปลี่ยนสีหากไม่ชอบรสชาติ มีความกังวลเกี่ยวกับท่อในอาคารหรือไมโครพลาสติก การติดตั้งเครื่องกรองน้ำราคาไม่แพงในสิงคโปร์เช่น TAPP 2 เป็นมาตรการด้านความปลอดภัยที่ดีหลีกเลี่ยงน้ำดื่มบรรจุขวด – ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าน้ำดื่มบรรจุขวดในสิงคโปร์ดีกว่าและดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำประปา

ระบบไฟฟ้า

ในสิงคโปร์แรงดันไฟฟ้ามาตรฐาน คือ 230 V และความถี่ 50 Hz สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในสิงคโปร์ได้หากแรงดันไฟฟ้ามาตรฐานในประเทศของตนเองที่อยู่ระหว่าง 220 – 240 V ได้ (เช่นเดียวกับในสหราชอาณาจักรยุโรปออสเตรเลียและส่วนใหญ่ในเอเชียและแอฟริกา)

ระบบโทรศัพท์

Service  Telephone
เบอร์ 999                หมายเลขฉุกเฉินติดต่อตำรวจ
เบอร์ 995                หมายเลขฉุกเฉินติดต่อนักดับเพลิงและรถพยาบาล
เบอร์ 1777               หมายเลขไม่ฉุกเฉินติดต่อรถพยาบาล
สายด่วนตำรวจโทร: 1800 255 0000 (กรณีฉุกเฉิน) +65 6255 0000
ตำรวจจราจรโทร: 6547 0000

เทศกาลสำคัญ ของสิงคโปร์
ไทปูซัม

เป็นเทศกาลของชาวฮินดู ที่รำลึกถึงวันคล้ายวันเกิดของพระมุรุกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธีหลักจะแบกหรือลากกาวาดีที่ถูกออกแบบและตกแต่งอย่างงดงาม ส่วนผู้เข้าร่วมพิธีจะเดินและร่ายรำไปตามระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร เพื่อบูชาและขอบคุณพระเป็นเจ้า ส่วนผู้ที่เสนอตัวเพื่อแบกกาวาดี จะเป็นผู้ที่ต้องการให้เรื่องร้าย ๆผ่านพ้นไป

ตรุษจีน

ในวันตรุษจีน ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและจัดงานรื่นเริงสนุกสนาน โดยจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ที่ไชน่าทาวน์ มีทั้งขบวนแห่มังกรและการแสดงดอกไม้ไฟ รวมถึงการแสดงแสงสีเสียงต่างๆ

เทศกาลโคมไฟ

เทศกาลโคมไฟ ถูกจัดขึ้นที่แม่น้ำสิงคโปร์และ อ่าวมาริน่าในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งจะมีการแสดงพลุที่ตระการตา และชมขบวนเรือพาเหรดประดับไฟสวยงาม โดยมีร้านหาบเร่และแผงลอยต่างๆมากมาย นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวสามารถชมเทศกาล Chingay Parade ซึ่งจัดขึ้นในช่วงตรุษจีน มีขบวนพาเหรดนานาชาติทั้งแบบเดินถนนและแบบลอยน้ำ โดยจัดที่ Marina Waterfront

วันชาติสิงคโปร์

วันชาติสิงคโปร์ หรือ National Day ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคมของทุกปี โดยทางประเทศสิงคโปร์ จะจัดขบวนพาเหรดตลอดเส้นทาง ซึ่งในวันชาติจะมีความสนุกสนาน ด้วยระบำตามแบบวัฒนธรรมต่างๆมีขบวนพาเหรดอันงดงาม พร้อมชมการแสดงพลุไฟมากมาย และการแสดงแสงเลเซอร์สีสันสดใส

อาหารที่ขึ้นชื่อของสิงคโปร์

การเดินทางมาประเทศสิงคโปร์ นอกจากจะได้ชมสถานที่ต่างๆ ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ยังได้เข้าถึงวิถีวัฒนธรรมของชาวสิงคโปร์ รวมถึงการรับประทานอาหารพื้นเมืองของที่นี่อีกด้วย เพื่อให้ได้ซึมซับรสชาติและบรรยากาศแบบเข้าถึงอย่างเต็มที่ และเพิ่มรสชาติและสีสันให้กับการเดินทางของเรา และยิ่งทำให้เราได้สัมผัสความเป็นตัวตนของชาตินั้นๆ อีกด้วย สิงคโปร์เป็นสถานที่รวมหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนาเข้าและวัฒนธรรมเข้าด้วยกันทำให้อาหารการกินนั้น มีความผสมผสานกันอย่างลงตัว

ลักซา

ลักชาถือเป็นอาหารขึ้นชื่อของประเทศสิงคโปร์ มีลักษณะคล้ายก๋วยเตี๋ยวต้มยำใส่น้ำกะทิ ซึ่งจะทำให้รสชาติเข้มข้น คล้าย กับข้าวซอยของไทย มีส่วนผสมของ กุ้งแห้ง กุ้งต้ม พริก และหอยแครง เหมาะสำหรับคนที่ชอบรับประทานอาหารทะเล ลักซามีทั้งแบบที่ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ

ข้าวมันไก่

ข้าวมันไก่ เป็นเมนูที่ขึ้นชื่อของสิงคโปร์ หากินได้ง่ายไม่ว่าจะเป็นตามฟู้ดคอร์ททั่วไป หรือจะเป็นร้านอาหารต่างๆ เพราะว่าเป็นอาหารที่มีรสชาติดี ซึ่งข้าวมันไก่ที่สิงคโปร์จะมีรสชาติคล้ายๆ กันทุกร้าน เป็นข้าวมันไก่ที่มีสูตรการปรุงมาจากชาวจีนไหหลำ ที่อพยพเข้ามาอยู่ในสิงคโปร์ โดยข้าวมันจะมีกลิ่นหอม รสชาติเค็มนิดๆ เนื้อไก่นุ่มปนกับ หนังไก่ที่มีความกรอบนิดๆ เวลาเสิร์ฟ มีน้ำราดมาบนเนื้อไก่ ซึ่งเป็นน้ำซุปที่เหลือจากการต้มไก่และนำมาปรุงรสอีกเล็กน้อย เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้ม 3 อย่างคือ น้ำจิ้มซีอิ้วดำ ,น้ำจิ้มขิงผสมต้นหอมปั่นรวมกันมีรสชาติเผ็ดขิง และน้ำจิ้มเปรี้ยว เป็นพริกและกระเทียมปั่นรวมกับน้ำส้มสายชู

บ๊ะกุดเต๋

บ๊ะกุ๊ดเต๋ หรือซุปกระดูกหมู เป็นอีกหนึ่งเมนูจานเด็ดซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในสิงคโปร์ เพราะเป็นซุปกระดูกหมูที่ผ่านการต้มเคี่ยวกับเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ จนเนื้อหมูเปื่อยนุ่มลูกค้าสามารถสั่งข้าวสวยร้อนๆผัดผักน้ำมันหอยหรือ ปาท่องโก๋ทอดหั่นเป็นชิ้นๆ ที่นำมาจุ่มน้ำซุปกินคู่กัน

คายา โทสต์

คายา โทสต์หรือบ้านเราเรียกขนมปังสังขยา แต่ที่นี่เป็นขนมปังกรอบๆ สามารถหากินได้ทั้งวัน คายา โทสต์เป็นขนมปังแผ่นไม่หนามาก นำไปอบจนกรอบ ทาด้วยสังขยาสูตรเฉพาะที่กินแล้วมีรสชาติหวานเข้มข้นกว่าของไทย โปะทับด้วยเนยเค็มเล็กน้อย ประกบทับด้วยขนมปังกรอบอีกแผ่น

Chilli Crab หรือปูผัดพริก

ปูผัดพริก เป็นเมนูซีฟู้ดยอดนิยมที่นักท่องเที่ยว เลือกสั่งมาลองเมื่อไปเยือนสิงคโปร์ ปูผัดพริกนั้นแบ่งเป็น ปูผัดพริก ป็นการนำปูไปผัดกับเครื่องเทศและปรุงรสออกมาให้ออกหวานและ เผ็ด หรือจะสั่งปูผัดพริกไทยดำ มีให้เลือกทั้งแบบปูยักษ์ ซึ่งเป็นปูทะเลจากศรีลังกา และมีปูอลาสก้า กินคู่กับข้าวสวยร้อนๆ หรือหมั่นโถวนึ่งมาจิ้มน้ำซอสปูผัดพริกก็ได้เช่นกัน

เซนดอล

ลอดช่องสิงคโปร์ที่มีคล้ายคลึงกับ ลอดช่องน้ำกะทิบ้านเรา เป็นขนมหวานๆ เย็นๆ ที่ใส่กะทิ ตัวเส้นลอดช่องทำจากแป้งและใบเตย ใส่ถั่วแดงและใส่น้ำแข็งป่นเพิ่มความเย็น แล้วโรยหน้าด้วยน้ำตาลทรายแดงเคี่ยวจนข้น

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นประเทศที่ไม่ใหญ่มากและอยู่ใกล้เมืองไทย หากจะเดินทางโดยเครื่องบินก็ใช้เวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งที่นี่มีแหล่งสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ที่คนไทยและนักท่องเที่ยวประเทศอื่นๆ ต่างให้ความสนใจและอยากจะเดินทางมาสัมผัสกับบรรยากาศที่นี่อีกครั้ง

The Esplanade Park หรือ อลิซาเบธวอร์ค
ถนนออร์ชาร์ด
รีสอร์ท เวิลด์ เซ็นโตซ่า
การ์เด้น บาย เดอะ เบย์
ไนท์ ซาฟารี
วัดพระเขี้ยวแก้ว
ชิงช้าสวรรค์
มารีน่า เบย์ แซนด์ส
ยูนิเวิร์ลซัล สตูดิโอ
error: Content is protected !!